ค้นหาบล็อกนี้

ยินดีต้อนรับนักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับวัสดุ

เว็บพี่น้องวัสดุ
http://www.mate-kmutnb.net/

หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

น้ำมันหล่อลื่นแท้ น้ำมันเครื่องแท้ ไส้กรอง น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ จาระบี น็อต สกรู

จำหน่าย ขายน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ น้ำมันหล่อลื่นแท้ + ไส้กรอง จาระบี
กาวปะเก็น สายไฟ ฟิวส์ ฯ เหล็กรัดสแตนเลส เคเบิ้ลไทด์ เหล็กรู น็อต สกรู

ติดต่อ : Meggie
โทรศัพท์ : 029262387
มือถือ : 0866683557 (TRUEMOVE)

อีเมล์ : suisen@usa.com
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
(นนทบุรี)






มีจำหน่ายหน้าร้าน ส่งฟรีเฉพาะที่บิ๊กซีวงศ์สว่าง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


น้ำมันหล่อลื่นของแท้ ไม่ฟันราคา http://zuitebie.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

การรีไซเคิลอะลูมิเนียม 2



อิทธิพลของธาตุผสมต่อการฟอร์มสารประกอบ β-Al5FeSi ในงานหล่อ
โลหะผสมอลูมิเนียม-7%ซิลิคอน-1%เหล็ก
EFFECT OF ALLOYING ELEMENTS ON THE FORMATION OF β-Al5FeSi COMPOUND IN Al-7%Si-1%Fe CAST ALLOYS

พิสิทธิ์ เมืองน้อย กฤตธี เอียดเหตุ*
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร 10800
E-mail:
dr_krittee@hotmail.com*


บทคัดย่อ

การปนเปื้อนของธาตุเหล็กในงานหล่ออะลูมิเนียมเป็นผลทำให้สมบัติทางกลของชิ้นงานหล่อต่ำ เนื่องจากเหล็กจะฟอร์มตัวเป็นสารประกอบ β-Al5FeSi ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นยาวและปลายแหลม ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเติมธาตุ Sr, Mn, Cr, Sr/Mn Sr/Cr และ Mn/Cr ต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกลของชิ้นงานหล่อโลหะผสมอะลูมิเนียม-6.5%ซิลิคอน-1%เหล็ก นอกจากนี้ยังทดลองทำนายการฟอร์มสารประกอบ β-Al5FeSi โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางความร้อนในงานหล่อด้วย ผลการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคและปริมาณเฟสต่างๆ พบว่า การเติมธาตุสตอนเทียม (0.03%Sr) ทำให้สารประกอบ β-Al5FeSi มีความยาวสั้นลงและปริมาณน้อยลงด้วย ในขณะที่เฟสยูเทคติคซิลิคอนถูกปรับให้มีขนาดเล็กและมีกระจายตัวดีขึ้น การเติมธาตุแมงกานีส (0.35%Mn) และสตอนเทียม/แมงกานีส (0.03%Sr+0.15%Mn) พบว่าสารประกอบ β-Al5FeSi ยังคงหลงเหลืออยู่ในโครงสร้าง และการเติมธาตุโครเมียม (0.25%Cr), แมงกานีส/โครเมียม (0.15%Cr+0.15%Mn) มีผลทำให้สารประกอบ β-Al5FeSi เปลี่ยนรูปร่างเป็นสารประกอบ α-A15Fe3Si2 ที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรจีน (Chinese script) และยังพบว่ามีการฟอร์มเป็นสารประกอบที่มีลักษณะเป็นก้อน (Sludge) กระจายอยู่ในโครงสร้าง ในขณะที่การเติมธาตุผสมของสตอนเทียม/โครเมียม (0.03%Sr+0.15%Cr) ทำให้สารประกอบ β-Al5FeSi ถูกปรับสภาพให้กลายเป็นสารประกอบ α-A15Fe3Si2 ทั้งหมดและยังทำให้ยูเทคติคซิลิคอนมีขนาดเล็กไปพร้อมๆ กัน ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางความร้อนพบว่าเดนไดรท์อะลูมิเนียมฟอร์มที่อุณหภูมิ 613ºC สารประกอบ β-Al5FeSi ฟอร์มที่ 589ºC และเฟสยูเทคติคซิลิคอนฟอร์มที่ 573ºC โดยลักษณะของเส้นกราฟทางความร้อนจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเติมธาตุผสมต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ทำนายการฟอร์มสารประกอบ β-Al5FeSi และสารประกอบอื่นๆ


คำสำคัญ : โลหะผสมอะลูมิเนียม-ซิลิคอน-เหล็ก, การปรับสภาพ, เฟส β-Al5FeSi, เฟส α- Al8Fe2Si, งานหล่อ

ในการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมในประเทศไทย มักจะใช้อินกอต (Ingot) ที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิลเศษอลูมิเนียมต่างๆ เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม กรอบประตูหน้าต่าง เศษขี้กลึง เป็นต้น ทำให้มีเหล็กมีโอกาสเข้าไปผสมในปริมาณมาก การปนเปื้อนขอเหล็กนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น ในอุตสาหกรรมงานหล่อแบบฉีด (Pressure Die Casting) และงานหล่อโดยใช้แบบหล่อถาวร (Permanent Mold Casting) มักนิยมเติมเหล็กลงไปในปริมาณ 0.8-1.3 wt.% เพื่อให้การถอดชิ้นงานออกจากแบบหล่อได้ง่าย และมีผิวงานหล่อที่สวยงาม แต่หากว่ากระบวนการหล่อมีอัตราการแข็งตัวที่ช้าจะทำให้มีสมบัติทางกลของชิ้นงานหล่อต่ำ [Davis, 1993] การปนเปื้อนของธาตุเหล็กนั้นนอกจากจะมากจากเศษอลูมิเนียมแล้ว ยังสามารถเกิดได้จากอุปกรณ์ที่ใช้ในการหล่อซึ่งส่วนมากจะทำมาจากเหล็ก ยกตัวอย่างเช่น ที่ตักน้ำโลหะ เหล็กกวนโลหะเหลว ท่อไล่แก๊สไฮโดรเจนและอุปกรณ์ตักดรอส (Dross) เป็นต้น ซึ่งทำให้เหล็กหลอมละลายและแพร่เข้าไปในโลหะเหลว เมื่อมีเหล็กผสมในอลูมิเนียมหลอมเหลวในปริมาณที่มากกว่า 0.2-1.5wt.%Fe ทำให้เกิดการฟอร์มตัวของสารประกอบเชิงโลหะ (Intermetallic Compound) ชนิด สารประกอบ β-Al5FeSi (สารประกอบ β) ที่มีลักษณะที่เป็นเส้นยาวและมีปลายแหลม ความยาวของสารประกอบ β นี้จะมีขึ้นอยู่กับปริมาณของเหล็กที่ผสม ถ้ามีเหล็กผสมมากสารประกอบ β ก็จะมีความยาวมากขึ้น ความยาวของสารประกอบ β ใช่วง 20-100 ไมครอน มีผลกระทบต่อสมบัติทางกลของชิ้นงานหล่อให้มีความความแข็งแรงต่ำและมีความเปราะมาก นอกจากนี้อัตราการเย็นตัวในงานหล่อเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการฟอร์มสารประกอบ β โดยพบว่าอัตราการเย็นตัวที่รวดเร็วในแบบหล่อเหล็กจะทำให้มีสารประกอบขนาดเล็กและมีปริมาณน้อยกว่าชิ้นงานหล่อที่แข็งตัวในแบบหล่อแกรไฟต์ ซึ่งมีอัตราการเย็นตัวที่ช้ากว่า [Backerud, 1991]

ในอุตสาหกรรมการหล่อโลหะผสมอลูมิเนียม-7%ซิลิคอน ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีปริมาณการหล่อประมาณ 70%ของงานหล่อทั้งหมด เนื่องจากอลูมิเนียมผสมกลุ่มนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ความสามารถในการหล่อสูง มีผิวสวยงาม สามารถเพิ่มความแข็งแรงได้ด้วยกระบวนการเพิ่มความแข็งด้วยการตกผลึก (Precipitation hardening) เป็นต้น เป็นที่ทราบกันดีว่าสมบัติทางกลของอลูมิเนียมกลุ่มนี้ จะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของโครงสร้างจุลภาคของงานหล่อ เช่น ระยะห่างระหว่างแขนที่สองของเดนไดรท์ (Secondary dendrite arm spacing) ขนาดและรูปร่างของเฟสยูเทคติคซิลิคอน สารประกอบ Mg2Si และสารประกอบเชิงโลหะที่มีธาตุเหล็กผสมอื่นๆ เช่น สารประกอบ β ดังนั้นการปรับสภาพโครงสร้างจุลภาคให้ละเอียดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้เพราะเฟสยูเทคติคซิลิคอนและสารประกอบ β มีขนาดที่ละเอียด มีรูปร่างที่กลมมนจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงานหล่อ การปรับสภาพโครงสร้างนั้นสามารถทำได้โดยการเติมธาตุ เช่น แมงกานีสและโครเมียมลงไปในอลูมิเนียมขณะหลอมเหลว แต่หากปริมาณการเติมมีน้อยเกินไป สารประกอบ β จะถูกปรับเปลี่ยนไม่หมด ในขณะเดียวกันหากเติมเข้าไปมากเกินไปอาจจะเกิดการเฟสตะกอน (Sludge phase) ที่มีลักษณะเป็นก้อนอยู่ในโครงสร้างเกิดขึ้นได้ ดังนั้นในการผสมจึงจำเป็นต้องคำนวณหาโอกาสในการตกตะกอน (Sedimentation factor) ซึ่งแสดงในสมการที่ 1 [Backerud, 1991] Sludge factor = Fe + 2Mn + 3Cr (1) โดยทั่วไปค่าโอกาสในการตกตะกอนจะถูกกำหนดไว้ประมาณ 1.8 เพื่อป้องกันการฟอร์มเฟสตะกอน อย่างไรก็ตามนอกจากการกำหนดค่าดังกล่าวแล้ว ตัวแปรในงานหล่ออื่นยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสารประกอบ β และการฟอร์มเฟสตะกอน
เช่นอุณหภูมิหลอมเหลว อุณหภูมิเทโลหะเหลว อัตราการเย็นตัว ในปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นมุ่งเน้นเพื่อศึกษาการปรับสภาพโครงสร้างของอลูมิเนียมที่มีเหล็กผสมมาก


Ashtari และคณะ [Ashtari et al., 2004] ทดลองปรับสภาพโครงสร้างของอลูมิเนียมผสมเกรด 319 ที่ผสมเหล็ก 0.5-1 wt.% พบว่าการเติมแมงกานีส สตรอนเทียม สตรอนเทียม/แมงกานีส และ สามารถทำให้สารประกอบ β มีขนาดและปริมาณลดลงได้ การเติมธาตุลิเทียม (Li) ในปริมาณ 0.33wt.% (แม้จะไม่นิยมมากนัก) พบว่าสามารถปรับรูปร่างของสารประกอบ β ได้บางส่วน แต่จะทำให้เกิดการฟอร์มเฟสตะกอนทำให้ชิ้นงานมีความเปราะ [Ashtari et al., 2004] มีการทดลองเติมธาตุ โพแทสเซียม (K) ลงในอลูมิเนียมผสมเกรด 319 ด้วยเช่นกันและพบว่าสามารถทำให้มีสารประกอบ β มีขนาดและปริมาณลดลงได้ [Ashtari et al., 2005] เมื่อไม่นานมานี้ Eidhed [Eidhed, 2008] ได้ทดลองเติมธาตุโครเมียม และโครเมียม/สตรอนเทียม ผสมในงานหล่ออลูมิเนียมเกรด 356 ที่มีเหล็กผสม 1wt.% พบว่าสารประกอบ β ถูกปรับสภาพให้หาไปจากโครงสร้างได้ และบางส่วนถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นสารประกอบ α-Al15(Fe,Cr)3Si2 (สารประกอบ α) ขึ้นมาแทนที่ซึ่งเป็นผลดีต่อสมบัติทางกลของชิ้นงานหล่อ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการฟอร์มสารประกอบ β และการฟอร์มเฟสตะกอน มีผลทำให้สมบัติทางกลของชิ้นงานหล่อต่ำ ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมการฟอร์มทั้งสองโดยการเติมธาตุผสมต่างๆ จึงมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมการหล่อ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพโครงสร้างโลหะผสมอลูมิเนียม-7%ซิลิคอน-1%เหล็ก โดยการเติมธาตุผสมต่างๆ


ผลการทดลองและอภิปรายผล

3.1 โครงสร้างจุลภาคของงานหล่อ (As-cast microstructures )
โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานหล่อโลหะผสมอลูมิเนียม-7%ซิลิคอน-1%เหล็ก ที่ไม่ได้ปรับสภาพโครงสร้างจุลภาค ประกอบด้วยอลูมิเนียมเป็นโครงสร้างพื้น (Matrix), เฟสยูเทคติคซิลิคอน (Eutectic silicon) และสารประกอบ β ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยเฟสยูเทคติคซิลิคอนมีลักษณะเป็นแท่งมีรูปร่างคล้ายเข็ม (Acicular) กระจายตัวอยู่ระหว่างแขนของเดนไดรท์ ในขณะที่สารประกอบ β ที่มีลักษณะเป็นเส้นขนาดใหญ่ที่มีความยาวมากและมีปลายแหลม มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 30 ไมครอน เนื่องจากโลหะผสมมีเหล็กผสมอยู่ 1wt.% สารประกอบ β มีโครงสร้างผลึกแบบ Monoclinic ซึ่งมีแกน 2 แกนสมมาตรกันและมีอะตอมจัดเรียงตัวกันหนาแน่น
ทำให้สารประกอบ β เติบโตในลักษณะเป็นเส้นยาวในทิศทาง 2 มิติ [Ashtari, 2005] โครงสร้างจุลภาคลักษณะแบบนี้จะทำให้ชิ้นงานหล่อมีสมบัติทางกลต่ำ

รูปที่ 1 โครงสร้างจุลภาคงานหล่อของโลหะผสมอลูมิเนียม-7%ซิลิคอน-1%เหล็ก

ที่ไม่ได้ปรับสภาพโครงสร้าง

รูปที่ 2 ผลการวิเคราะห์ทางความร้อน แสดงเส้นอัตราการเย็นตัว และผลต่างของอุณหภูมิเทียบกับเวลา (dT/dt) ของโลหะผสมอลูมิเนียม-7%ซิลิคอน-1%เหล็ก ที่ไม่ได้ปรับสภาพโครงสร้าง


รูปที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อ จากการสังเกตเส้นโค้งอัตราการเย็นตัว (Cooling curve) และเส้นโค้ง dT/dt ของชิ้นงานหล่อที่ไม่ได้ปรับสภาพโครงสร้าง
จากการวิเคราะห์พบว่าเมื่อโลหะหลอมเหลวถูกเทลงในแบบหล่อจะเกิดการฟอร์มตัวของเฟสอลูมิเนียมเดนไดรท์ (Al dendrite) ที่อุณหภูมิ 609ºC (หมายเลข 1) เมื่ออุณหภูมิลดลง ที่อุณหภูมิ 590ºC เกิดการฟอร์มตัวของสารประกอบ β (หมายเลข 2) และเฟสยูเทคติคซิลิคอนฟอร์มตัวที่อุณหภูมิ 575ºC (หมายเลข 3) ในการฟอร์มตัวของสารประกอบ β นั้นสามารถสังเกตได้จากอุณหภูมิของเส้นโค้งอัตราการเย็นตัวจะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง และมียอดแหลมของเส้นโค้ง dT/dt เกิดขึ้น ในส่วนของการฟอร์มเฟสยูเทคติคซิลิคอนจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีอุณหภูมิคงที่สังเกตได้จากเส้นโค้งอัตราการเย็นตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเฟสสมบูรณ์แล้วอุณหภูมิจะลดลงอีกครั้ง


3.2 การปรับสภาพโครงสร้างด้วยสตรอนเทียม (Modification by Sr)

โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานหล่อโลหะผสมอลูมิเนียม-ซิลิคอน-เหล็ก โดยการเติมสตรอนเทียมลงไปในปริมาณ 0.03%Sr พบว่าธาตุสตรอนเทียมมีผลทำให้สารประกอบ β มีขนาดเล็กและสั้นลง ในขณะเดียวกันเฟสยูเทคติคซิลิคอนก็จะถูกปรับสภาพให้มีขนาดเล็กไปพร้อมๆกันด้วย ดังแสดงรูปที่ 3 โดยธรรมชาติเฟสยูเทคติคซิลิคอนจะฟอร์มและเติบโต (Growth) ไปในระนาบที่ <112> พร้อมกับการหักเหของระนาบผลึก (Twining) ในระนาบ (111) ทำให้เฟสมีลักษณะเป็นแผ่นยาวและมีปลายค่อนข้างแหลม เมื่อเติมสตรอนเทียมลงไปในโลหะหลอมเหลวและปล่อยให้แข็งตัว สตรอนเทียมจะขัดขวางการเติบโตของผลึกซิลิคอนในระนาบ <112> และทำให้เกิดการเติบโตในหลายทิศทาง ทำให้ได้เฟสยูเทคติคซิลิคอนมีขนาดเล็กลง และรูปร่างกลมมนมากขึ้น [Backerud, 1991] อย่างไรก็ตามจากผลการทดลองนี้ทำให้ทราบว่าการเติมสตรอนเทียมมีผลต่อการเปลี่ยนปรับเปลี่ยนสารประกอบ β เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

รูปที่ 3 โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยสตรอนเทียม (0.03wt.%)

รูปที่ 4 ผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติมสตรอนเทียม (0.03wt.%)

รูปที่ 4 แสดงผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติมสตรอนเทียมลงไปในปริมาณ 0.03wt.% พบว่าจะเกิดการฟอร์มตัวของเฟสอลูมิเนียมเดนไดรท์ที่อุณหภูมิ 608ºC (หมายเลข 1) สารประกอบ β ฟอร์มตัวที่อุณหภูมิ 588ºC โดยจะเห็นได้ว่ามียอดแหลมของเส้นโค้ง dT/dt เกิดขึ้น (หมายเลข 2) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 575ºC เฟสยูเทคติคซิลิคอนฟอร์มตัวเป็นสารประกอบสุดท้าย (หมายเลข 3)

3.3 การปรับสภาพโครงสร้างด้วยแมงกานีสและแมงกานีส/สตรอนเทียม (Modification by Mn and Mn/Sr)

รูปที่ 5 และรูปที่ 6 โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานหล่อที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยการเติมแมงกานีสในปริมาณ 0.375%Mn และเติมแมงกานีสร่วมกับสตรอนเทียม ในปริมาณ 0.375%Mn + 0.03%Sr ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการเติมแมงกานีสมีผลทำให้สารประกอบ β มีปริมาณลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันเฟสยูเทคติคซิลิคอนก็จะถูกปรับสภาพให้มีขนาดเล็กไปพร้อมกัน โดยแมงกานีสสามารถทำให้สารประกอบ β เปลี่ยนจากสารประกอบที่มีลักษณะที่มีเส้นยาวและมีปลายแหลมกลายเป็นสารประกอบ α ที่มีลักษณะตัวอักษรจีน ซึ่งสารประกอบใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากการรวมตัวของแมงกานีสกับเหล็กและซิลิคอน เนื่องจากแมงกานีสสามารถแพร่เข้าไปแทนที่อะตอมทำให้เกิดสารประกอบและทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นสารประกอบ α แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีสารประกอบ β หลงเหลืออยู่เล็กน้อย


รูปที่ 5 โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยแมงกานีส (0.375wt.%)


ผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติมแมงกานีสในปริมาณ 0.375% แสดงในรูปที่ 7 พบว่าจะเกิดการฟอร์มตัวของเฟสอลูมิเนียมเดนไดรท์ที่อุณหภูมิ 609ºC (หมายเลข 1) สารประกอบ β ฟอร์มตัวที่อุณหภูมิ 586ºC โดยจะเห็นได้ว่ามียอดแหลมของเส้นโค้ง dT/dt เกิดขึ้น (หมายเลข 2) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 574ºC เฟสยูเทคติคซิลิคอนเกิดการฟอร์มตัว (หมายเลข 3)

รูปที่ 6 โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยแมงกานีสร่วมกับสตรอนเทียม(0.375%Mn+0.03%Sr)


รูปที่ 8 ผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติมแมงกานีสร่วมกับสตรอนเทียม
พบว่าเกิดการฟอร์มตัวของเฟสอลูมิเนียมเดนไดรท์ที่อุณหภูมิ 612ºC (หมายเลข 1) สารประกอบ β ฟอร์มตัวที่อุณหภูมิ 583ºC (หมายเลข 2) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 573ºC เฟสยูเทคติคซิลิคอนฟอร์มตัว (หมายเลข 3) โดยอุณหภูมิการฟอร์มตัวของสารประกอบ β และยูเทคติคซิลิคอนจะถูกทำให้ลดต่ำลง จากผลการทดลองดังกล่าวจะเห็นได้ว่ายอดแหลมของเส้นโค้ง dT/dt ของการเติมแมงกานีสจะต่ำกว่ายอดแหลมของการเติมสตรอนเทียม ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างจุลภาคและทำให้สรุปได้ว่าการเติมแมงกานีสและการเติมแมงกานีสร่วมกับสตรอนเทียมจะมีผลต่อการปรับสภาพโครงสร้างมากกว่าการเติมสตรอนเทียมเพียงอย่างเดียว


รูปที่ 7 ผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติมแมงกานีส (0.375wt.%)
รูปที่ 8 ผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติม แมงกานีสร่วมกับสตรอนเทียม

(0.375%Mn + 0.03%Sr)


3.4 การปรับสภาพโครงสร้างด้วยโครเมียมและโครเมียม/สตรอนเทียม (Modification by Cr and Cr/Sr)

รูปที่ 9 และรูปที่ 10 แสดงโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานหล่อที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยการเติมโครเมียมและโครเมียมร่วมกับสตรอนเทียม ในปริมาณ 0.25%Cr และ 0.25%Cr + 0.03%Sr ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการเติมโครเมียมจะทำให้สารประกอบ β ถูกทำให้หายไปจากโครงสร้างได้ ซึ่งสารประกอบ β ถูกปรับสภาพให้กลายเป็นสารประกอบ α และบางส่วนเกิดการฟอร์มเฟสตะกอน ในขณะเดียวกันการเติมโครเมียมร่วมกับสตรอนเทียมจะเป็นผลทำให้ทั้งสารประกอบ β และเฟสยูเทคติคซิลิคอนจะถูกปรับสภาพให้มีขนาดเล็กไปพร้อมกัน นอกจากนี้ระยะห่างระหว่างแขนของเดนไดร์ (SDAS) จะมีขนาดสั้นลงด้วย รูปที่ 11 แสดงผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่ปรับสภาพโครงสร้างด้วยการเติมโครเมียม 0.25% จากการทดลองพบว่าเกิดการฟอร์มตัวของเฟสอลูมิเนียมเดนไดรท์ที่อุณหภูมิ 609ºC (หมายเลข 1) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 573ºC เฟสยูเทคติคซิลิคอนฟอร์มตัว (หมายเลข 2) รูปที่ 12 แสดงผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่ปรับสภาพโครงสร้างด้วยการเติมโครเมียมร่วมกับสตรอนเทียม (0.25%Cr + 0.03%Sr) จากการวิเคราะห์พบว่าเกิดการฟอร์มตัวของเฟสอลูมิเนียมเดนไดรท์ที่อุณหภูมิ 608.9ºC (หมายเลข 1) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 573.4ºC เฟสยูเทคติคซิลิคอนฟอร์มตัว (หมายเลข 2)


รูปที่ 9 โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยโครเมียม 0.25wt.%

รูปที่ 10 โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยโครเมียมร่วมกับสตรอนเทียม(0.25%Cr+0.03%Sr)

รูปที่ 11 ผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติมโครเมียม (0.25wt.%)


จากผลของโครงสร้างจุลภาคและการวิเคราะห์ทางความร้อนจะเห็นได้ว่ายอดแหลมของเส้นโค้ง dT/dt ของสารประกอบ β ของทั้งสองสภาวะการหล่อถูกทำให้หายไป ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าโครเมียมมีประสิทธิภาพในการปรับสภาพสารประกอบ β ได้ดีกว่าแมงกานีสและสตรอนเทียม ซึ่งเป็นผลมาจากสัมประสิทธิ์การแพร่ในอลูมิเนียมของโครเมียมนั้นสูงกว่าแมงกานีส นอกจากนี้ยังพบยังว่าโครเมียมยังมีผลต่อการปรับสภาพเฟสยูเทคติคซิลิคอนไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

รูปที่ 12 แสดงผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่ปรับสภาพโครงสร้างด้วยการเติมโครเมียมร่วมกับ สตรอนเทียม


3.5 การปรับสภาพโครงสร้างด้วยแมงกานีส/โครเมียม (Modification by Mn/Cr)

รูปที่ 13 แสดงโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานหล่อที่ปรับสภาพโครงสร้างด้วยการเติมแมงกานีสร่วมกับโครเมียม (0.15%Mn + 0.15%Cr) ผลการทดลองพบว่าสารประกอบ β หายไปจากโครงสร้าง โดยการถูกปรับสภาพให้กลายเป็นสารประกอบ α มีลักษณะตัวอักษรจีน และเฟสตะกอน



รูปที่ 13 โครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานที่ผ่านการปรับสภาพโครงสร้างด้วยเติมแมงกานีสร่วมกับโครเมียม (0.15%Mn + 0.15%Cr)


รูปที่ 14 การวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่เติมแมงกานีสร่วมกับโครเมียม (0.15%Mn + 0.15%Cr) พบว่าเกิดการฟอร์มตัวของเฟสอลูมิเนียมเดนไดรท์ที่อุณหภูมิ 612ºC (หมายเลข 1) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 5745ºC เฟสยูเทคติคซิลิคอนฟอร์มตัว (หมายเลข 2) โดยจะเห็นได้ว่ายอดแหลมของเส้นโค้ง dT/dt ของสารประกอบ β ถูกทำให้หายไปในระหว่างการแข็งตัว

รูปที่ 14 แสดงผลการวิเคราะห์ทางความร้อนของชิ้นงานหล่อที่ปรับสภาพโครงสร้างด้วยการเติมแมงกานีสร่วมกับโครเมียม (0.15%Mn + 0.15%Cr)


3.6 การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบในโครงสร้างจุลภาค

ผลการวิเคราะห์หาปริมาณเฟสต่างๆ ในโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานหล่อที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพ (Un-modified) พบว่ามีปริมาณของสารประกอบ β ประมาณ 10.3 เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่ทั้งหมด ดังแสดงในรูปที่ 15 เมื่อเติมธาตุสตรอนเทียมลงไปเพื่อปรับสภาพโครงสร้างมีผลทำให้ปริมาณสารประกอบ β ลดลงแต่ยังคงมีหลงเหลืออยู่ 4.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเติมแมงกานีสและแมงกานีสร่วมกับสตรอนเทียมส่งผลทำให้สารประกอบ β มีปริมาณลดลงเหลือ 0.7 และ 1.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีสารประกอบ β เกิดขึ้นมาแทนที่ในปริมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปริมาณสารประกอบ α ที่เหลืออยู่นี้จะน้อยกว่าผลของการเติมสตรอนเทียมเพียงอย่างเดียว
เมื่อเติมโครเมียมและโครเมียม/สตรอนเทียม ทำให้ปริมาณสารประกอบ β หมดไปจากโครงสร้างจุลภาคได้ โดยเกิดสารประกอบ α และเฟสตะกอนขึ้นมาแทนที่ในปริมาณ 1.0-2.3 และ 1.1-1.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนของชิ้นงานหล่อที่เติมแมงกานีสร่วมกับโครเมียสามารถทำให้สารประกอบ β หายไปจากโครงสร้างจุลภาคได้เช่นเดียวกัน และเกิดการฟอร์มตัวของสารประกอบ α ขึ้นแทนที่ในปริมาณสูงประมาณ 7.2 เปอร์เซ็นต์ และมีเฟสตะกอนเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยประมาณ 0.8 เปอร์เซ็นต์

4. สรุปผลการทดลอง

ผลการทดลองและวิเคราะห์ทั้งหมดในงานวิจัยนี้เพื่อปรับสภาพโครงสร้างของโลหะผสมอลูมิเนียม-7%ซิลิคอน-1%เหล็ก สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

4.1 การเติมสตรอนเทียมมีผลทำให้สารประกอบ β มีปริมาณและรูปร่างเล็กที่ลดลง
4.2 การเติมแมงกานีสและแมงกานีส/สตรอนเทียม มีผลให้สารประกอบ β
บางส่วนเปลี่ยนไปเป็นสารประกอบ α ได้ โดยไม่มีเฟสตะกอนเกิดขึ้น
4.3 การเติมโครเมียม โครเมียม/สตรอนเทียมและแมงกานีส/โครเมียม มีผลให้สารประกอบ β หายไปจากโครงสร้างจุลภาคได้หมด โดยจะเกิดสารประกอบ α และเฟสตะกอนเกิดขึ้นแทนที่

รูปที่ 15 ปริมาณของสารประกอบที่ได้จากแบบหล่อในสภาวะต่างๆ, Bata phase=β-Al5FeSi และ Alpha phase= α-A15(Fe,Mn)3Si2 หรือ α-A15(Fe,Cr)3Si2


บรรณานุกรม
Ashtari P, Tezuka H, Sato T, (2004) Modification of Fe-containing intermetallic compounds of Al-Si-Cu-Fe cast alloy using Sr, Li and Mn additions, The 9th International conference on aluminum alloys, pp. 937-942.
Ashtari P, Tezuka H, Sato T, (2004) Influence of Li addition of intermetallic compound morphologies in Al-Si-Cu-Fe cast, Scripta materials 51, pp. 43-46.
Ashtari P, Tezuka H, Sato T, (2005) Modification of Fe-containing intermetallic compounds by K addition to Fe-richAA319 aluminum alloys, Scripta materials 53, pp. 937-942.
Backerud L, Chai G. and Tamminen J., 1991, Solidification Characteristic of Aluminum Alloy, AFS/Skan Aluminum, Strockholm, Vol. 2, pp. 71.
Davis J.R., 1993, Aluminum and Aluminum Alloys, ASM International, Materials Park, pp. 199-230
Eidhed W, 2008, Modification of β-Al5FeSi Compound in Recycled Al-Si Cast Alloys by Using Sr, Mg and Cr Addition, Journal of Materials Science and Technology, Vol.24 No.1, pp. 45-47.


ที่มา : IE Network Conference 2010

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลส่วนตัว นาย พิสิทธิ์ เมืองน้อย

ชื่อ นาย พิสิทธิ์ เมืองน้อย

การศึกษา

ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมวัสดุ)
กำลังศึกษา ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วิศวกรรมวัสดุ)
สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ หรือ ความสนใจ

กระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้า กระบวนการหล่ออะลูมิเนียม

ข้อมูลการติดต่อ

Si203@hotmail.com

Mild_steel@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

การรีไซเคิลอะลูมิเนียม


(Recycling Rate for Aluminum Cans in Sweden and the U.S. 1984-2004 )

ในปัจจุบันอะลูมิเนียมเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งจากคุณสมบัติเด่นหลายประการได้แก่ มีคุณสมบัติในการหล่อและขึ้นรูปได้ดี น้ำหนักเบา ต้านทานการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม ผิวสวยงาม ใช้พลังงานในการขึ้นรูปต่ำ ในการรีไซเคิลอะลูมิเนียมจะเป็นการประหยัดทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานรวมทั้งการช่วยลดมลพิษที่เกิดขึ้นได้
ในปัจจุบันการรีไซเคิลอะลูมิเนียมนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
อะลูมิเนียมเกรดที่ผ่านการขึ้นรูปทางกล (Wrought) เช่น กระป๋องน้ำอัดลม ฉากประตู หน้าต่าง หรือชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น


แสดงกระป๋องน้ำอัดลมที่ผ่านการอัดแน่น

อะลูมิเนียมเกรดงานหล่อ (Cast) เช่น ล้อแม็ก ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ ลูกสูบ เป็นต้น



แสดงล้อแม็กที่ผลิตมาจากอะลูมิเนียมเกรดงานหล่อ A356

ในการรีไซเคิลเกรดขึ้นรูปด้วยแรงทางกล ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่น้ำอัดลม โดยการนำมาอัดเป็นแท่งๆ และนำเข้าเตาหล่อม ซึ่งในการหล่อมต้องใส่สีออกที่อุณหภูมิประมาณ 400 องศาเซลเซียล จากนั้นก็ให้ความร้อนจนอะลูมิเนียมหล่อมเหลว ที่อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียล ซึ่งปัญหาสำคัญในการหล่อคือส่วนผสมทางเคมีของกระป๋องที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยเกรด 3004 (High Mn) และเกรด 5185 (high Mg) เมื่อนำไปหล่อมรวมกันทำให้ส่วนผสมทางเคมีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงได้ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหานี้ได้แก่การให้ความร้อนของอะลูมิเนียมที่จุดหล่อมเหลวของทั้งสองเกรด ซึ่งเกรดที่มีจุดหล่อมเหลวต่ำกว่าจะเกิดการหล่อมก่อน หรืออาจจะหล่อรวมทั้งหมด แล้วนำไปตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี แล้วปรุงเกรดให้ได้ตามที่เราต้องการก็ได้ ในการปรุงเกรดนั้น เราจำเป็นต้องเติมธาตบางตัวลงไป เช่น ซิลิคอน แม็กนิเซียม ทองแดง เป็นต้น ที่อยู่ในรูปของมาสเตอร์อัลลอยด์ (Master alloys) ยกตัวอย่างเช่น Al-10Mg (ในอลูมิเนียม100% มี แมกนิเซียมผสมอยู่ 10%) ซึ่งการเติมธาตุในลักษณะของมาสเตอร์อัลลอยด์นั้น ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น รวมทั้งการคำนวณปริมาณที่จะเติมลงไปด้วย

ในการรีไซเคิลเกรดงานหล่อ ปัญหาสำคัญในการหล่อคือ การปนเปื้อนของเหล็กที่มาจากการหล่อ ปริมาณเหล็กที่ป่นเปื้อนสูงจะส่งผลต่อโครงสร้างจุลภาค เหล็กจะฟอร์มตัวเป็นเฟสเบต้าที่มีลักษณะยาวๆ (AlSiFe) ในชิ้นงานหล่อ ซึ่งการป้องกันควรใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับงานหล่อ ได้แก่ กระบวยตัก Dross ท่อไล่แก๊ส เป็นต้น โดยการเคลือบเซอร์คอนหรือใช้สแตนเลสแทนซึ่งจะลดการปนเปื้อนของเหล็กได้ระดับหนึ่ง หรืออาจจะเติมธาตุบางตัวลงไป เช่น แมงกานีส (Mn) เพื่อปรับสภาพเบต้าเฟสที่มีลักษณยาวให้มีลักษณะที่สั้นและกลมมนคล้ายตัวอักษรจีน ทำให้สมบัติทางกลของอะลูมิเนียมสูงขึ้น

ในปัจจุบันมีงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เข้ามารองรับเกี่ยวกับปัญหาการรีไซเคิลอลูมิเนียม โดยเฉพาะเกรดงานหล่อที่มีการป่นเปื้อนของเหล็ก ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการรีไซเคิลขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถนำไปใช้งานได้โดยตรง

ที่มา

http://www.alcoa.com/
http://www.mtec.or.th
http://www.school.net.

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

เหล็กกล้าสามเฟส



เหล็กกล้าสามเฟส หรือเหล็กกล้า TRIP Steel (Transformation Induced Plasticity) เป็นเหล็กกล้าชนิดใหม่ โดยทั่วไปสามารถผลิตได้จากเหล็กกล้าผสมต่ำ ซึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ในปัจจุบัน

กราฟแสดงการใช้งานเหล็กกล้า Trip steel ในอุตสาหกรรมยานยนต์


ซึ่งโครงสร้างจุลภาคประกอบด้วย เฟอร์ไรท์ มาร์เทนไซต์หรือเบนไนท์ และออสเทนไนต์ตกค้าง

รูปแสดงโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้า Trip steel

กรรมวิธีในการผลิตเหล็กกล้า Trip steel โดยการให้ความร้อนแก่เหล็กกล้าเหนือ เส้น A1 แต่ไม่เกินเส้น A3 อุณหภูมิประมาณ 775 องศาเซลเซียล ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีต่อความหนาชิ้นงาน 1 นิ้ว จากนั้นนำไปคงอุณหภูมิในเตาอ่างเกลือที่อุณหภูมิประมาณ 400 องศาเซลเซียล ใช้เวลาประมาณ 40 นาที (จนมันใจว่าชิ้นงานเปลี่ยนเฟสเป็นเบนไนท์หมดแล้ว) จากนั้นเย็นตัวอย่างรวดเร็วในน้ำแสดงอุณหภูมิในการผลิตเหล็กกล้า Trip steel

สมบัติทางกลเหล็กกล้า Trip steel จะมีสมบัติเด่นมากในการยืดตัว (Elongation) สูงกว่าเหล็กกล้าสองเฟส (Dual phase steel) และเหล็กกล้า HSLA ซึ่งมาจากโครงสร้างจุลภาคที่เป็นเนื้อพื้น ค่าความแข็งแรง (Strength) สูง ซึ่งสมบัติที่สำคัญอีกอย่างของเหล็กกล้าชนิดนี้คือ รีเทนออสเทนไนต์ที่ตกค้างในโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาเทนไซต์ที่มีความแข็งแรงสูงในขั้นตอนการขึ้นรูป



แสดงสมบัติทางกลของเหล็กกล้า Trip steel

เหล็กกล้าที่ใช้ในการผลิตเหล็กกล้า Trip steel เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ซึ่งส่วนผสมทางเคมีมีผลสำคัญมากในการผลิตเหล็กกล้าชนิดนี้ เพราะบางครั้งถ้าส่วนผสมทางเคมีไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถสร้างเป็นเหล็กกล้าสามเฟสได้ เช่น แมงกานีส ต้องมีปริมาณที่เหมาะสม เป็นต้น

ที่มา :

www.salzgitter-flachstahl.de
www.worldautisteel.org
www.steel.keytometals.com