ชื่อ นาย พิสิทธิ์ เมืองน้อย
การศึกษา
ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมวัสดุ)
กำลังศึกษา ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วิศวกรรมวัสดุ)
สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ หรือ ความสนใจ
กระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้า กระบวนการหล่ออะลูมิเนียมข้อมูลการติดต่อ
วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553
ข้อมูลส่วนตัว นาย พิสิทธิ์ เมืองน้อย
วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553
การรีไซเคิลอะลูมิเนียม
ในการรีไซเคิลเกรดขึ้นรูปด้วยแรงทางกล ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่น้ำอัดลม โดยการนำมาอัดเป็นแท่งๆ และนำเข้าเตาหล่อม ซึ่งในการหล่อมต้องใส่สีออกที่อุณหภูมิประมาณ 400 องศาเซลเซียล จากนั้นก็ให้ความร้อนจนอะลูมิเนียมหล่อมเหลว ที่อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียล ซึ่งปัญหาสำคัญในการหล่อคือส่วนผสมทางเคมีของกระป๋องที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยเกรด 3004 (High Mn) และเกรด 5185 (high Mg) เมื่อนำไปหล่อมรวมกันทำให้ส่วนผสมทางเคมีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงได้ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหานี้ได้แก่การให้ความร้อนของอะลูมิเนียมที่จุดหล่อมเหลวของทั้งสองเกรด ซึ่งเกรดที่มีจุดหล่อมเหลวต่ำกว่าจะเกิดการหล่อมก่อน หรืออาจจะหล่อรวมทั้งหมด แล้วนำไปตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี แล้วปรุงเกรดให้ได้ตามที่เราต้องการก็ได้ ในการปรุงเกรดนั้น เราจำเป็นต้องเติมธาตบางตัวลงไป เช่น ซิลิคอน แม็กนิเซียม ทองแดง เป็นต้น ที่อยู่ในรูปของมาสเตอร์อัลลอยด์ (Master alloys) ยกตัวอย่างเช่น Al-10Mg (ในอลูมิเนียม100% มี แมกนิเซียมผสมอยู่ 10%) ซึ่งการเติมธาตุในลักษณะของมาสเตอร์อัลลอยด์นั้น ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น รวมทั้งการคำนวณปริมาณที่จะเติมลงไปด้วย
ที่มา
http://www.alcoa.com/
http://www.mtec.or.th
http://www.school.net.
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553
เหล็กกล้าสามเฟส
สมบัติทางกลเหล็กกล้า Trip steel จะมีสมบัติเด่นมากในการยืดตัว (Elongation) สูงกว่าเหล็กกล้าสองเฟส (Dual phase steel) และเหล็กกล้า HSLA ซึ่งมาจากโครงสร้างจุลภาคที่เป็นเนื้อพื้น ค่าความแข็งแรง (Strength) สูง ซึ่งสมบัติที่สำคัญอีกอย่างของเหล็กกล้าชนิดนี้คือ รีเทนออสเทนไนต์ที่ตกค้างในโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาเทนไซต์ที่มีความแข็งแรงสูงในขั้นตอนการขึ้นรูป
เหล็กกล้าที่ใช้ในการผลิตเหล็กกล้า Trip steel เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ซึ่งส่วนผสมทางเคมีมีผลสำคัญมากในการผลิตเหล็กกล้าชนิดนี้ เพราะบางครั้งถ้าส่วนผสมทางเคมีไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถสร้างเป็นเหล็กกล้าสามเฟสได้ เช่น แมงกานีส ต้องมีปริมาณที่เหมาะสม เป็นต้น
ที่มา :
www.salzgitter-flachstahl.de
www.worldautisteel.org
www.steel.keytometals.com
ข้อคิดดีๆ จากวิศวกรรมวัสดุ 2
Good Stories For Friends >>
คำสั่งพิเศษ
"ฉันรู้...ว่านายต้องมา..."
เพื่อนแท้คนหนึ่ง คือพรประเสริฐสุด และเป็นหนึ่งเดียว ที่เราคาดคิดไว้ว่า...น้อยสุดที่จะมี
วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553
มารู้จักเหล็กกล้าสองเฟส
เหล็กกล้าสองเฟส (Dual phase steel) เป็นเหล็กกล้าชนิดใหม่ที่พัฒนามาจาก เหล็กกล้าผสมต่ำความแข็งแรงสูง (High strength low alloy) มีโครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยสองเฟส คือ เฟอร์ไรต์ (Ferrite) และมาร์เทนไซต์(Martensite) หรืออาจประกอบด้วยเฟสเบนไนต์ (Bainite) และเพิร์ลไลต์ (Pearlite) ประกอบด้วยก็ได้ เหล็กประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์
โครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยสองเฟส คือ เฟอร์ไรต์ และมาร์เทนไซต์ หรืออาจประกอบด้วยเฟสเบนไนต์ ซึ่งมีสมบัติพิเศษคือ มีค่าความเค้นแรงดึงสูง และมีความสามารถในการขึ้นรูปได้ดีสามารถขึ้นรูปที่มีความซับซ้อนได้ดี
สมบัติทางกล
จากโครงสร้างจุลภาคจะส่งผลต่อสมบัติทางกลต่อค่าความแข็งแรงและค่าความเหนียวของเหล็กกล้า
จากการทดสอบสมบัติทางกล (เทนไซต์) จะเห็นได้ว่าเหล็กกล้าสองเฟสมีค่า Stress (ความแข็งแรง) และค่า Strain (การยืดตัว) สูงกว่าเหล็กกล้า HSLA (High strength low alloys) ซึ่งเราสามารถอธิบายด้วยกลไกการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชั่น (Dislocation) เมื่อชิ้นงานที่เป็นเหล็กกล้าสองเฟสผ่านการขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนต่างๆของรถยนต์ จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชั่น เมื่อดิสโลเคชั่นเคลื่อนที่ชนเฟสที่มาร์เทนไซต์ที่มีความแข็งแรงสูง จะทำให้ชิ้นงานมีค่าความแข็งแรงสูงด้วย ซึ่งค่าความเหนียวมากจากโครงสร้างเฟอร์ไรท์ในเหล็กกล้าสองเฟส
แสดงกลไกการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชั่นในเหล็กกล้าสองเฟส
ปัจจุบันเหล็กกล้าสองเฟสจะมีการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง ซึ่งการวิเคราะห์เกี่ยวกับสมบัติต่างๆ ของเหล็กกล้าสองเฟสนั่นมีความสำคัญมากซึ่งขึ้นกับตัวแปรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวแปรทางด้านกระบวนการทางความร้อน เช่น อุณหภูมิ เวลา หรือตัวแปรด้านอื่นๆ เช่น ส่วนผสมทางเคมีของเหล็กกล้าที่จะนำมาทำเป็นเหล็กกล้าสองเฟส เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการศึกษาการกัดกร่อนของเหล็กกล้าสองเฟสในสภาวะการใช้งานในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.uss.com/
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.mate-kmutnb.net/
ข้อคิดดีๆ จากวิศวกรรมวัสดุ
มีมากก็จงอย่าลืมตัว
วิศวกรรมวัสดุจะยิ่งใหญ่ได้คงไม่ใช่เพียงข้ามคืน แต่จะเกิดขึ้นได้ถ้าเราช่วยกันสร้างขึ้น อันดับแรกเราต้องสร้างความภาคภูมิใจ ถ้าตัวเราเองไม่ภูมิใจแล้ว แล้วใครเค้าจะมาภูมิใจกับเราด้วย
อันดับที่สองความรักและความสามัคคี ร้อยพ่อพันแม่-ต่างบ้านต่างเมือง ทุกคนต่างๆกัน
มันไม่ง่ายเลยที่จะรวมกันได้ ความเป็นเพื่อนไม่ใช่แค่เรียนร่วมห้องเดียวกัน เลิกเรียนแล้วกลับบ้าน ตัวใครตัวมัน ความเป็นพี่น้องก็ไม่ใช่แค่เรามาเรียนก่อนหรือมาเรียนหลังไม่ได้นับถือกันแบบนั้น มันสร้างขึ้นด้วยใจ ไม่มีใครบังคับได้... การทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ทุกคนได้รู้จักกัน ได้พูดคุยกัน ได้ช่วยเหลือกัน จึงจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ขึ้น
จะมีประโยชน์อะไรถ้าเรียนได้ A แต่ไม่มีเพื่อนจริงๆ เลยสักคน ลองถามตัวเองซิ ว่าอยากมีเพื่อนเป็นหนังสือเท่านั้นหรือ? ใน 1 ปี มีกิจกรรมไม่ได้มากมาย จะเสียเวลามากหรือ? เสียเงินมากหรือ? มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมแบบไหนก็ตามทุกคน ย่อมปรับตัวให้เข้ากับสังคมนั้นๆ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ เหมือนต้นไม้ที่รู้จักเอนอ่อนตาม กระแสลมพายุหรือกระแสน้ำที่เชี่ยวกราด ไม่เพียงแต่จะไม่หักแต่ยังคงเจริญเติบโตต่อไปอีกได้ ความสำเร็จของเราก็คือความยิ่งใหญ่ของวิศวกรรมวัสดุในอนาคต จงทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพื่ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้า จงทำเพื่อตนเองอย่างไม่เห็นแก่ตัว และจงทำเพื่อคนอื่นอย่างไม่ลืมตนเอง....
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
วิศวกรรมวัสดุคือ
มีวัตถุประสงค์ในการผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางทฤษฎี และปฎิบัติ ในด้านวิศวกรรมวัสดุ กระบวนการผลิตวัสดุ สมบัติของวัสดุ และเทคโนโลยี การใช้วัสดุในงานวิศวกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านอุตสาหกรรมวัสดุของประเทศและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาอุตสากหรรมด้าน อื่นๆ ต่อไป
การศึกษาและงานวิจัยทางด้านวัสดุ แบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรม
1. วัสดุสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์
2. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมโลหะ3. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก4. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิค5. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม6. วัสดุที่มีสมบัติพิเศษและและวัสดุผสม
บริษัทในกลุ่ม อุตสาหกรรมผลิตโลหะ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งโลหะและพอลิเมอร์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท สหวิริยาสตีสอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด บริษัท ไทยน็อค จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยโตเคนเทอร์ไม จำกัด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ต่างๆ ของรัฐบาล
วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553
เหล็กกล้าสองเฟส
(MECHANICAL PROPERTIES AND MICROSTRUCTURE
OF DUAL – PHASE STEELS)
พิสิทธิ์ เมืองน้อย, ณัฐพงษ์ เกิดสินธุ์1
กิตติชัย ฟักพันธุ์2
1นักศึกษา 2อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาควิศวกรรมวัสดุและวิชาเทคโนโลยีการผลิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. 2551
บทคัดย่อ
ในการศึกษานี้จะศึกษาผลกระทบของกระบวนการที่ใช้ในการกระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้า SS400และเหล็กกล้า AISI 4340 ที่มีผลต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติเชิงกลของเหล็กกล้าสองเฟส โดยกระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้าเริ่มจากกระบวนการอบปกติเพื่อเตรียมโครงสร้างให้มีความสม่ำเสมอสำหรับการอบชุบ แล้วนำไปทำกระบวนการทางความร้อนโดยการให้ความร้อนแก่ชิ้นงานที่อุณหภูมิระหว่าง A1 และ A3 ของเฟสไดอะแกรมของเหล็กกล้า โดยกระบวนการผลิตเหล็กกล้าสองเฟสแบ่งเป็นสามกระบวนการได้แก่ กระบวนการ intercritical quenching กระบวนการ intermediate quenching และ กระบวนการ step quenching ไปนำตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค หลังจากนั้นนำไปทดสอบสมบัติเชิงกล ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงดึง การทดสอบความแข็ง ผลการทดลองเหล็กกล้าสองเฟสทั้งสองเกรด สามกระบวนการพบว่า ค่าความแข็งแรงดึงและค่าความเค้นจุดที่วัสดุเกิดการแตกของเหล็กกล้า ทั้งสองเกรด มีผลมาจากรูปร่างลักษณะโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าสองเฟส ที่มีลักษณะเล็กและเรียวยาว คือ ที่กระบวนการที่สอง (intermediate quenching) ของเหล็กกล้าทั้งสองเกรดจะให้ค่าความแข็งแรงดึงและค่าความเค้นจุดที่วัสดุเกิดการแตกสูง ส่วนค่าความแข็งมีผลมาจากรูปร่างลักษณะโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าสองเฟส คือโครงสร้างจุลภาคมาเทนไซต์ที่มีขนาดใหญ่จะให้ค่าความแข็งสูงกว่าโครงสร้างจุลภาคที่มีขนาดเล็ก ดังนั้นกระบวนการผลิตเหล็กกล้าสองเฟสมีผลต่อลักษณะและขนาดของโครงสร้างจุลภาค และโครงสร้างจุลภาคจะส่งผลต่อสมบัติเชิงกลที่แตกต่างกัน
1. บทนำ
ในปัจจุบันเหล็กกล้าสองเฟสเป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งในอดีตมักสนใจกันในเรื่องของประสิทธิภาพของเครื่องยนต์มากกว่าที่จะสนใจในตัววัสดุเหล็กกล้าสองเฟสเป็นวัสดุที่มีค่าความแข็งแรงและความเหนียวสูงกว่า เหล็กกล้าคาร์บอน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าสองเฟส คือ การที่มีเฟสของมาร์เทนไซต์กระจายอยู่ในเฟสเฟอร์ไรต์ [1] โครงสร้างจุลภาคที่ประกอบไปด้วยเฟสของมาร์เทนไซต์กระจายอยู่ในเฟสเฟอร์ไรต์ เป็นการพัฒนาเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยกระบวนการทางความร้อน ซึ่งในเฟสมาร์เทนไซต์จะมีค่าความแข็งแรงสูง และในเฟสเฟอร์ไรต์มีผลให้มีค่าการยืดตัวสูง ซึ่งในเหล็กกล้าสองเฟสจะมีสมบัติทั้งสองนี้ผสมผสานกันอย่างลงตัว และมีผลทำให้ความสามารถในการขึ้นรูปดีขึ้นมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอน [2,3] ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการทางความร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในการทำให้เป็นเฟสออสเทนไนต์มีผลต่อขนาดของเกรน และปริมาณของเฟสออสเทนไนต์ที่จะกลายเป็นเฟสมาร์เทนไซต์เมื่อลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้เหล็กกล้าสองเฟสที่มีสมบัติทางกลที่ดี
2. ขอบเขตของโครงการ
2.1 วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาลำดับขั้นการชุบแข็งเพื่อให้ได้โครงสร้างจุลภาคสองเฟส โครงสร้างจุลภาค และสมบัติเชิงกลของเหล็กกล้า AISI 4340 และ SS400
2.2 ขอบเขตโครงงาน
ทำการศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทำกระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้าที่สนใจ ทำการอบปกติ เพื่อปรับขนาดเกรน และทำกระบวนการทางความร้อน ด้วยกระบวนการชุบแข็ง โดยทำให้เป็นเหล็กกล้าสองเฟส เมื่อเสร็จกระบวนการทางความร้อนแล้วนำวิเคราะห์ปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์ และมาร์เทนไซต์ หลังจากนั้นนำไปทดสอบสมบัติเชิงกล ได้แก่ ทดสอบความแข็งแรงดึง (Tensile test) และทดสอบความแข็ง (Hardness test
2.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ทราบถึง อุณหภูมิ ที่เหมาะสมที่ใช้ในกระบวนการทางความร้อนเหล็กกล้า เพื่อให้มีโครงสร้างเป็นเหล็กกล้าสองเฟส ผลกระทบสมบัติทางกลที่เปลี่ยนแปลงไปของเหล็กกล้าเมื่อผ่านกระบวนการทางความร้อน และผลกระทบของกระบวนการทางความทั้ง 3 วิธี ที่ให้ได้เหล็กกล้าสองเฟส ที่มีผลต่อ สมบัติเชิงกล
3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.1 โครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้าสองเฟส
เหล็กกล้าสองเฟสเป็นเหล็กกล้าชนิดใหม่ที่พัฒนามาจากเหล็กกล้าผสมต่ำความแข็งแรงสูง มีโครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยสองเฟส คือ เฟอร์ไรต์ และมาร์เทนไซต์ เหล็กกล้าสองเฟสจะมีเปอร์เซ็นต์มาร์เทนไซต์ประมาณ 5-20% เหล็กประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีค่าความเค้นแรงดึงสูง และมีความสามารถในการขึ้นรูปได้ดี ดังนั้นด้วยคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว จึงทำให้สามารถลดต้นทุนและลดน้ำหนักของรถยนต์ได้
- เฟอร์ไรต์ เป็นเฟสที่มีอ่อน ซึ่งจะส่งผลต่อสมบัติเชิงกล ทำให้เหล็กกล้ามีความเหนียวสูง
- มาร์เทนไซต์ เป็นเฟสที่มีความแข็งซึ่งจะส่งผลต่อสมบัติเชิงกล ทำให้โลหะมีความแข็งสูง
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เหล็กกล้าเครื่องมือ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิสิทธิ์ เมืองน้อย
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ. ดร. วิทยา เอียดเหตุ
เหล็กกล้า SKD 61 หรือเหล็กกล้า AISI H13 เป็นเหล็กกล้าที่ใช้กันมาก ในกลุ่มเหล็กกล้าทำงานร้อนที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ปัจจุบันเหล็กกล้า SKD 61 จะเป็นเหล็กที่มีโลหะผสมสูง ซึ่งการรวมกันของโลหะผสมจะมีผลต่อความเหนียว ทนต่อการสึกหร่อ และสามารถคงความแข็งได้ดี ง่ายต่อการชุบแข็ง ทนต่อการกัดกร่อน มีความต้านทานต่อการกระแทก และมีความต้านทานต่อการอ่อนตัวเมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงถึง 550 องศาเซลเซียล ซึ่งในการอบชุบนี้จะดูผลของโครงสร้างจุลภาคที่มีผลต่อค่าความแข็ง ของเหล็กกล้า SKD 61 หลังจากผ่านกระบวนการทางความร้อนเสร็จแล้วนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูงเพื่อศึกษาสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งาน
ส่วนผสมทางเคมีเหล็กกล้า SKD 61 [1] ประกอบด้วย C = 0.32-0.45, Si = 0.80-1.20, Mn = 0.20-0.50, Cr = 4.75-5.50, Mo = 1.10-1.75, V = 0.80-1.20
ขอบเขตของโครงการ
ตรวจวิเคราะห์หาส่วนผสมทางเคมี ชุบแข็งชิ้นงานที่อุณหภูมิ 1025 องศาเซลเซียส เวลานาน 30 นาที จากนั้นเย็นตัวอย่างรวดเร็วในน้ำมัน อบคืนตัวที่อุณหภูมิ 400, 500 และ 600 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที ตามลำดับ นำไปตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสง และทดสอบสมบัติทางกล นำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือชั้นสูงได้แก่กล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนแบบส่องกราด เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค และใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ เพื่อการใช้วิเคราะห์สารประกอบของคาร์ไบด์
ผลการทดลอง
การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค
การทดลองอบชุบทางความร้อนเหล็กกล้าเครื่องมือ SKD 61 โดยผ่านกระบวนการชุบแข็งและอบคืนตัว เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค สมบัติทางกล ซึ่งมีผลการทดลองดังนี้ ผลการทดลองการอบชุบเหล็กกล้าเครื่องมือ SKD 61 จากโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าเครื่องมือ SKD 61 หลังผ่านกระบวนการชุบแข็งในน้ำมันและอบคืนตัวที่เวลาต่างกันจะพบว่าโครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยโครงสร้างมาร์เทนไซต์ คาร์ไบด์ และออสเทนไนท์ที่ตกค้างหลังจากการอบชุบเล็กน้อย
โครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้า SKD 61 หลังจากผ่านกระบวนการ Tempering ที่อุณหภูมิ300,400,500,600°C ที่กำลังขยาย 200x
การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยเครื่องอิเลกตรอนแบบส่องกราด เหล็กกล้าเหล็กกล้าเครื่องมือ SKD 61 ก่อนผ่านการอบชุบและผ่านกระบวนการ Tempering ที่อุณหภูมิ 500°C โครงสร้างก่อนการอบชุบประกอบด้วยเฟสเฟอร์ไรท์ (สีเทา) และคาร์ไบด์ (สีขาว) ที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นของเฟสเฟอร์ไรท์ และหลังผ่านกระบวนการ Tempering ที่อุณหภูมิ 500 °C โครงสร้างประกอยด้วยโครงสร้างมาร์เทนไซต์และคาร์ไบด์ขนาดเล็กที่หลุดออกไปขณะที่กัดกรด
จากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง EDS เพื่อหาส่วนผสมทางเคมีของเหล็กกล้า SKD 61 หลังผ่านกระบวนการ Tempering ที่ อุณหภูมิ 500 C พบว่าประกอบด้วย Cr, V, Mo จึงคาดได้ว่าเกิดการตกผลึกของคาร์ไบด์ของธาตุเหล่านี้เกิดขึ้น
แสดงการหาส่วนผสมของธาตุด้วยเทคนิค EDS
สมบัติทางกล
จากการทดสอบสมบัติทางกล ได้แก่ การทดสอบค่าความแข็งของเหล็กกล้า SKD 61 จะพบว่าที่อุณหภูมิ Tempering 500 C จะให้ค่าความแข็งเพิ่มขึ้นเนื่องจากการตกตะกอนของคาร์ไบด์ขนาดเล็กๆ และออสเทนไนท์ที่ตกค้างจากกระบวนการชุบแข็งเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์
จากการทดลองชุบแข็งเหล็กกล้า SKD 61 และผ่านกระบวนการ Tempering ที่เวลาต่างกัน จะพบว่าที่อุณหภูมิ Tempering ที่ 500 C จะให้ค่าความแข็งสูงสุดเนื่องจากออสเทนไนต์ที่ตกค้างจากกระบวนการอบชุบเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์ที่มีความแข็งสูง ส่งผลต่อค่าความแข็งสูงขึ้น
เอกสารอ้างอิง
[1] Harry Chandler , Heat Treated’ s Guide , Practices and Procedures for Irons
and steels , 1995 p.600
[2] Harry Chandler , Heat Treated’ s Guide ,
Practices and Procedures for Irons and steels , 1995 p.600
[3] มนัส สถิรจินดา, เหล็กกล้า, วอ.03 2529 ISBN 974-331-103-3, 2543 น. 156-157
[4] Harry Chandler , Heat Treated’ s Guide , Practices and Procedures for Irons and
steels , 1995 p.601