


ในการรีไซเคิลเกรดขึ้นรูปด้วยแรงทางกล ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่น้ำอัดลม โดยการนำมาอัดเป็นแท่งๆ และนำเข้าเตาหล่อม ซึ่งใน


ที่มา
http://www.alcoa.com/
http://www.mtec.or.th
http://www.school.net.
ที่มา
http://www.alcoa.com/
http://www.mtec.or.th
http://www.school.net.
www.salzgitter-flachstahl.de
www.worldautisteel.org
www.steel.keytometals.com
"ฉันรู้...ว่านายต้องมา..."
เพื่อนแท้คนหนึ่ง คือพรประเสริฐสุด และเป็นหนึ่งเดียว ที่เราคาดคิดไว้ว่า...น้อยสุดที่จะมี
เหล็กกล้าสองเฟส (Dual phase steel) เป็นเหล็กกล้าชนิดใหม่ที่พัฒนามาจาก เหล็กกล้าผสมต่ำความแข็งแรงสูง (High strength low alloy) มีโครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยสองเฟส คือ เฟอร์ไรต์ (Ferrite) และมาร์เทนไซต์(Martensite) หรืออาจประกอบด้วยเฟสเบนไนต์ (Bainite) และเพิร์ลไลต์ (Pearlite) ประกอบด้วยก็ได้ เหล็กประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์
สมบัติทางกล
จากโครงสร้างจุลภาคจะส่งผลต่อสมบัติทางกลต่อค่าความแข็งแรงและค่าความเหนียวของเหล็กกล้า
แสดงกลไกการเคลื่อนที่ของดิสโลเคชั่นในเหล็กกล้าสองเฟส
ปัจจุบันเหล็กกล้าสองเฟสจะมีการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง ซึ่งการวิเคราะห์เกี่ยวกับสมบัติต่างๆ ของเหล็กกล้าสองเฟสนั่นมีความสำคัญมากซึ่งขึ้นกับตัวแปรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวแปรทางด้านกระบวนการทางความร้อน เช่น อุณหภูมิ เวลา หรือตัวแปรด้านอื่นๆ เช่น ส่วนผสมทางเคมีของเหล็กกล้าที่จะนำมาทำเป็นเหล็กกล้าสองเฟส เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการศึกษาการกัดกร่อนของเหล็กกล้าสองเฟสในสภาวะการใช้งานในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.uss.com/
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.mate-kmutnb.net/
มีวัตถุประสงค์ในการผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางทฤษฎี และปฎิบัติ ในด้านวิศวกรรมวัสดุ กระบวนการผลิตวัสดุ สมบัติของวัสดุ และเทคโนโลยี การใช้วัสดุในงานวิศวกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านอุตสาหกรรมวัสดุของประเทศและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาอุตสากหรรมด้าน อื่นๆ ต่อไป
การศึกษาและงานวิจัยทางด้านวัสดุ แบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรม
1. วัสดุสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์
2. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมโลหะ3. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก4. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิค5. วัสดุสำหรับอุตสาหกรรมด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม6. วัสดุที่มีสมบัติพิเศษและและวัสดุผสม
บริษัทในกลุ่ม อุตสาหกรรมผลิตโลหะ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งโลหะและพอลิเมอร์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท สหวิริยาสตีสอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด บริษัท ไทยน็อค จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยโตเคนเทอร์ไม จำกัด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ต่างๆ ของรัฐบาล
บทคัดย่อ
ในการศึกษานี้จะศึกษาผลกระทบของกระบวนการที่ใช้ในการกระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้า SS400และเหล็กกล้า AISI 4340 ที่มีผลต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติเชิงกลของเหล็กกล้าสองเฟส โดยกระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้าเริ่มจากกระบวนการอบปกติเพื่อเตรียมโครงสร้างให้มีความสม่ำเสมอสำหรับการอบชุบ แล้วนำไปทำกระบวนการทางความร้อนโดยการให้ความร้อนแก่ชิ้นงานที่อุณหภูมิระหว่าง A1 และ A3 ของเฟสไดอะแกรมของเหล็กกล้า โดยกระบวนการผลิตเหล็กกล้าสองเฟสแบ่งเป็นสามกระบวนการได้แก่ กระบวนการ intercritical quenching กระบวนการ intermediate quenching และ กระบวนการ step quenching ไปนำตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค หลังจากนั้นนำไปทดสอบสมบัติเชิงกล ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงดึง การทดสอบความแข็ง ผลการทดลองเหล็กกล้าสองเฟสทั้งสองเกรด สามกระบวนการพบว่า ค่าความแข็งแรงดึงและค่าความเค้นจุดที่วัสดุเกิดการแตกของเหล็กกล้า ทั้งสองเกรด มีผลมาจากรูปร่างลักษณะโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าสองเฟส ที่มีลักษณะเล็กและเรียวยาว คือ ที่กระบวนการที่สอง (intermediate quenching) ของเหล็กกล้าทั้งสองเกรดจะให้ค่าความแข็งแรงดึงและค่าความเค้นจุดที่วัสดุเกิดการแตกสูง ส่วนค่าความแข็งมีผลมาจากรูปร่างลักษณะโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าสองเฟส คือโครงสร้างจุลภาคมาเทนไซต์ที่มีขนาดใหญ่จะให้ค่าความแข็งสูงกว่าโครงสร้างจุลภาคที่มีขนาดเล็ก ดังนั้นกระบวนการผลิตเหล็กกล้าสองเฟสมีผลต่อลักษณะและขนาดของโครงสร้างจุลภาค และโครงสร้างจุลภาคจะส่งผลต่อสมบัติเชิงกลที่แตกต่างกัน
1. บทนำ
ในปัจจุบันเหล็กกล้าสองเฟสเป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งในอดีตมักสนใจกันในเรื่องของประสิทธิภาพของเครื่องยนต์มากกว่าที่จะสนใจในตัววัสดุเหล็กกล้าสองเฟสเป็นวัสดุที่มีค่าความแข็งแรงและความเหนียวสูงกว่า เหล็กกล้าคาร์บอน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าสองเฟส คือ การที่มีเฟสของมาร์เทนไซต์กระจายอยู่ในเฟสเฟอร์ไรต์ [1] โครงสร้างจุลภาคที่ประกอบไปด้วยเฟสของมาร์เทนไซต์กระจายอยู่ในเฟสเฟอร์ไรต์ เป็นการพัฒนาเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยกระบวนการทางความร้อน ซึ่งในเฟสมาร์เทนไซต์จะมีค่าความแข็งแรงสูง และในเฟสเฟอร์ไรต์มีผลให้มีค่าการยืดตัวสูง ซึ่งในเหล็กกล้าสองเฟสจะมีสมบัติทั้งสองนี้ผสมผสานกันอย่างลงตัว และมีผลทำให้ความสามารถในการขึ้นรูปดีขึ้นมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอน [2,3] ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการทางความร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในการทำให้เป็นเฟสออสเทนไนต์มีผลต่อขนาดของเกรน และปริมาณของเฟสออสเทนไนต์ที่จะกลายเป็นเฟสมาร์เทนไซต์เมื่อลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้เหล็กกล้าสองเฟสที่มีสมบัติทางกลที่ดี
2. ขอบเขตของโครงการ
2.1 วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาลำดับขั้นการชุบแข็งเพื่อให้ได้โครงสร้างจุลภาคสองเฟส โครงสร้างจุลภาค และสมบัติเชิงกลของเหล็กกล้า AISI 4340 และ SS400
2.2 ขอบเขตโครงงาน
ทำการศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการทำกระบวนการทางความร้อนของเหล็กกล้าที่สนใจ ทำการอบปกติ เพื่อปรับขนาดเกรน และทำกระบวนการทางความร้อน ด้วยกระบวนการชุบแข็ง โดยทำให้เป็นเหล็กกล้าสองเฟส เมื่อเสร็จกระบวนการทางความร้อนแล้วนำวิเคราะห์ปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์ และมาร์เทนไซต์ หลังจากนั้นนำไปทดสอบสมบัติเชิงกล ได้แก่ ทดสอบความแข็งแรงดึง (Tensile test) และทดสอบความแข็ง (Hardness test
2.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ทราบถึง อุณหภูมิ ที่เหมาะสมที่ใช้ในกระบวนการทางความร้อนเหล็กกล้า เพื่อให้มีโครงสร้างเป็นเหล็กกล้าสองเฟส ผลกระทบสมบัติทางกลที่เปลี่ยนแปลงไปของเหล็กกล้าเมื่อผ่านกระบวนการทางความร้อน และผลกระทบของกระบวนการทางความทั้ง 3 วิธี ที่ให้ได้เหล็กกล้าสองเฟส ที่มีผลต่อ สมบัติเชิงกล
3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.1 โครงสร้างจุลภาคเหล็กกล้าสองเฟส
เหล็กกล้าสองเฟสเป็นเหล็กกล้าชนิดใหม่ที่พัฒนามาจากเหล็กกล้าผสมต่ำความแข็งแรงสูง มีโครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยสองเฟส คือ เฟอร์ไรต์ และมาร์เทนไซต์ เหล็กกล้าสองเฟสจะมีเปอร์เซ็นต์มาร์เทนไซต์ประมาณ 5-20% เหล็กประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีค่าความเค้นแรงดึงสูง และมีความสามารถในการขึ้นรูปได้ดี ดังนั้นด้วยคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว จึงทำให้สามารถลดต้นทุนและลดน้ำหนักของรถยนต์ได้
- เฟอร์ไรต์ เป็นเฟสที่มีอ่อน ซึ่งจะส่งผลต่อสมบัติเชิงกล ทำให้เหล็กกล้ามีความเหนียวสูง
- มาร์เทนไซต์ เป็นเฟสที่มีความแข็งซึ่งจะส่งผลต่อสมบัติเชิงกล ทำให้โลหะมีความแข็งสูง